Skip to main content

สำนักงานแรงงาน จังหวัดอำนาจเจริญ

ภาวะเศรษฐกิจการคลัง

ภาวะเศรษฐกิจของจังหวัดอำนาจเจริญในเดือนกุมภาพันธ์ 2561

“เครื่องชี้เศรษฐกิจจังหวัดในเดือนกุมภาพันธ์ 2561 บ่งชี้เศรษฐกิจจังหวัดมีสัญญาณขยายตัวจากเดือนก่อนหน้า ด้านอุปสงค์มีสัญญาณขยายตัวสะท้อนจากการบริโภคภาคเอกชนและการใช้จ่ายภาครัฐ ขณะที่การลงทุนภาคเอกชนหดตัว ด้านอุปทานมีสัญญาณหดตัวสะท้อนจากภาคบริการและภาคเกษตรกรรม ขณะที่ภาคอุตสาหกรรมขยายตัว สำหรับเสถียรภาพเศรษฐกิจจังหวัดในภาพรวมยังอยู่ในเกณฑ์ที่ดี”

เศรษฐกิจด้านอุปทาน(การผลิต) พบว่า มีสัญญาณหดตัวเมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันปีก่อนโดยมีอัตราการหดตัวร้อยละ -1.6 สะท้อนจากภาคบริการหดตัว โดยดัชนีผลผลิตภาคบริการหดตัวร้อยละ -0.8 หดตัวในอัตราที่ลดลงจากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัว ร้อยละ 9.5 เป็นผลจากยอดการเบิกจ่ายงบประมาณของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาและโรงพยาบาลจังหวัดอำนาจเจริญมียอดเบิกจ่าย ลดลงที่ร้อยละ -2.6 และ -60.4 ตามลำดับ ภาคเกษตรกรรม หดตัวร้อยละ -12.6 หดตัวในอัตราที่ลดลงจากเดือนก่อนหน้าที่หดตัว ร้อยละ -17.4 สะท้อนจากปริมาณผลผลิตภาคเกษตรที่สำคัญได้แก่ มันสำปะหลัง และอ้อย ที่หดตัวร้อยละ -21.4 และ -4.3 ตามลำดับ รวมทั้งปริมาณผลผลิตโคเนื้อ ที่หดตัวในอัตราที่ลดลงร้อยละ -30.9 ขณะที่ภาคอุตสาหกรรม ขยายตัวร้อยละ 6.6ขยายตัวในอัตราที่เพิ่มขึ้น จากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 5.0สะท้อนจากจำนวนโรงงานและจำนวนทุนจดทะเบียนอุตสาหกรรมที่ขยายตัวร้อยละ 1.6 และ 10.0 ตามลำดับ สอดคล้องกับปริมาณการใช้ไฟฟ้าภาคอุตสาหกรรมที่ขยายตัวร้อยละ 9.3 

เศรษฐกิจด้านอุปสงค์(การใช้จ่าย)พบว่า มีสัญญาณขยายตัวเมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันปีก่อนโดยมีอัตราการขยายตัวร้อยละ 6.6 สะท้อนได้จากการบริโภคภาคเอกชนขยายตัวโดยดัชนีการบริโภคภาคเอกชนขยายตัวร้อยละ 4.1ขยายตัวในอัตราที่ลดลงจากเดือนก่อน หน้าที่ขยายตัวร้อยละ 23.9 สะท้อนจากจำนวนรถยนต์จดทะเบียนใหม่ที่ขยายตัวร้อยละ 7.1 เนื่องจากกิจการขายยานยนต์ใหม่ชนิดรถยนต์ นั่งส่วนบุคคล รถกระบะ รถตู้ และรถขนาดเล็กที่คล้ายกันมีการจดทะเบียนเพิ่มขึ้น และยอดจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มขยายตัวร้อยละ 1.2 เนื่องจากกิจการจำหน่ายรถยนต์ กิจการตกแต่งอาคารกิจการก่อสร้างอาคารมียอดขายเพิ่มขึ้น รวมทั้ง จำนวนรถจักรยานยนต์จดทะเบียนใหม่ ขยายตัวร้อยละ 17.7 การใช้จ่ายภาครัฐขยายตัว ร้อยละ 106.2 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันปีก่อน ขยายตัวในอัตราที่เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้า ที่ขยายตัวร้อยละ 99.5 เป็นผลมาจากยอดการเบิกจ่ายงบประจำและงบลงทุนรัฐบาลกลางขยายตัวร้อยละ 25.8 และ 305.4 ตามลำดับ เนื่องจากส่วนราชการเร่งเบิกจ่ายเงินงบประมาณเพื่อเป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจในจังหวัดจึงทำให้ยอดการเบิกจ่ายงบประมาณในเดือนนี้เพิ่มขึ้น เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันปีก่อน ขณะที่การลงทุนภาคเอกชนหดตัวร้อยละท–5.3 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันปีก่อนหดตัวในอัตราที่ เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่หดตัวร้อยละ -1.8 สะท้อนจากสินเชื่อเพื่อการลงทุน หดตัวร้อยละ – 4.3 และรถยนต์จดทะเบียน เพื่อการพาณิชย์หดตัวร้อยละ -40.0

ด้านรายได้เกษตรกรในจังหวัด พบว่ารายได้เกษตรกรในเดือนนี้ขยายตัวร้อยละ 8.3 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันปีก่อน พลิกกลับมาขยายตัว จากเดือนก่อนหน้าที่หดตัวร้อยละ –1.5 ตามปริมาณผลผลิตภาคเกษตรกรรมที่สำคัญได้แก่สุกรส่วนราคาสินค้าเกษตร ขยายตัวร้อยละ 23.9 ขยายตัวในอัตราที่เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 19.2 ตามราคาสินค้าเกษตรที่สำคัญได้แก่ ราคาข้าวหอมมะลิ มันส ำปะหลัง ด้านการเงิน พบว่าสภาพคล่องในระบบสถาบันการเงินมีการขยายตัวของเงินฝากมากกว่าสินเชื่อโดยเงินฝากรวมขยายตัวร้อยละ 6.0 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันปีก่อน ขยายตัวในอัตราที่เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 4.4 และสินเชื่อรวมหดตัวร้อยละ –4.3 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันปีก่อน ทรงตัวจากเดือนก่อนหน้าที่หดตัวร้อยละ – 4.3 เป็นผลมาจากธนาคารมีมาตรการ ที่เข้มงวดในการอนุมัติสินเชื่อประกอบกับอัตราดอกเบี้ยสินเชื่อมีอัตราที่ค่อนข้างสูงทำให้ประชาชนชะลอการขออนุมัติสินเชื่อ

เสถียรภาพเศรษฐกิจพบว่า อัตราเงินเฟ้อทั่วไปของจังหวัด ในเดือนกุมภาพันธ์2561 อยู่ที่ร้อยละ – 0.6 ทรงตัวจากเดือน ก่อนหน้าที่หดตัวเมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันปีก่อน ทั้งนี้อัตราเงินเฟ้อทั่วไปของจังหวัดที่ปรับตัวลดลงเป็นผลมาจากการปรับตัวลดลง ของดัชนีหมวดอาหารและเครื่องดื่ม ได้แก่ ดัชนีหมวดเนื้อสัตว์ เป็ดไก่ และสัตว์น้ำ ดัชนีหมวดไข่และผลิตภัณฑ์นม ดัชนีหมวดผักและผลไม้ ดัชนีหมวดเครื่องประกอบอาหาร สำหรับดัชนีหมวดอื่น ๆ ไม่ใช่อาหารและเครื่องดื่มที่ปรับตัวลดลง ได้แก่ ดัชนีหมวดพาหนะ การขนส่ง และการสื่อสาร ดัชนีกลุ่มอาหารสดและพลังงาน ขณะที่ดัชนีหมวดอาหารและเครื่องดื่มที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น ได้แก่ ดัชนีหมวดเครื่องดื่ม ไม่มีแอลกอฮอล์ สำหรับดัชนีหมวดอื่น ๆ ไม่ใช่อาหารและเครื่องดื่มที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น ได้แก่ ดัชนีหมวดเคหสถาน ดัชนีหมวดการตรวจรักษา และบริการส่วนบุคคล เป็นสำคัญ สำหรับการจ้างงาน ในเดือนกุมภาพันธ์2561 คาดว่าอยู่ที่ร้อยละ 2.7

ด้านการคลัง ในเดือนกุมภาพันธ์ 2561 พบว่า ผลการเบิกจ่ายเงินงบประมาณรวมในเดือนกุมภาพันธ์ 2561 มีจำนวน 257.809 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 64.2 เป็นผลมาจากยอดการเบิกจ่ายงบประจำรัฐบาลกลางขยายตัว เนื่องจากการเร่งรัดเบิกจ่าย ให้เป็นไปตามเป้าหมายของรัฐบาล รวมถึงรายจ่ายลงทุนรัฐบาลกลางขยายตัว สำหรับผลการจัดเก็บรายได้รวมในเดือนกุมภาพันธ์ 2561 มีจำนวนทั้งสิ้น 28.481ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ7.5เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันปีก่อน โดยสำนักงานสรรพากรพื้นที่จัดเก็บภาษีได้เพิ่มขึ้น ทุกหมวดภาษี เนื่องจากกิจการจำหน่ายรถยนต์ กิจการตกแต่งอาคารกิจการก่อสร้างอาคาร และสามารถเร่งรัดหนี้ภาษีอากรค้างจ่าย จากบุคคลธรรดาได้เพิ่มขึ้น ยกเว้นหมวดอากรแสตมป์และภาษีรายได้อื่นๆ สำนักงานสรรพสามิตพื้นที่จัดเก็บภาษีได้เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับ เดือนเดียวกันปีก่อน เป็นผลจากเดือนนี้มีการต่อใบอนุญาตรายเก่า การออกใบอนุญาตรายใหม่มากขึ้นกว่าปีก่อน และรายได้จากเงินคืนภาษี รถยนต์คันแรกทุกกรณี ด่านศุลกากรเขมราฐจัดเก็บรายได้เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันปีก่อน เนื่องจากเดือนนี้มีรายได้จากค่าธรรมเนียม และค่าขายของกลางเพิ่มขึ้น สำนักงานธนารักษ์พื้นที่จัดเก็บรายได้เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันปีก่อน เป็นผลมาจากปีนี้มีรายได้ จากค่าธรรมเนียมการต่ออายุสัญญาเช่าเพิ่มขึ้น สำหรับส่วนราชการอื่นจัดเก็บรายได้ลดลงสำหรับด้านดุลเงินงบประมาณในเดือนกุมภาพันธ์ 2561 ขาดดุลจำนวน – 240.881 ล้านบาท

574
TOP